สวัสดีปีใหม่ 2565 มิติใหม่ที่น่าสนใจ ของโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน สานฝันที่เป็นจริงได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและบริษัทร่วมทุนโครงการ ในวันนี้ สวัสดีปีใหม่ 2565
สวัสดีปีใหม่ 2565 มิติใหม่ที่น่าสนใจ ของโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน สานฝันที่เป็นจริงได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและบริษัทร่วมทุนโครงการ ในวันนี้ สวัสดีปีใหม่ 2565
ธันวาคม 22, 2564
สวัสดีปีใหม่ 2565 มิติใหม่ที่น่าสนใจ ของโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน สานฝันที่เป็นจริงได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและบริษัทร่วมทุนโครงการ ในวันนี้ สวัสดีปีใหม่ 2565
ธันวาคม 22, 2564
สวัสดีปีใหม่ 2565 มิติใหม่ที่น่าสนใจ ของโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน สานฝันที่เป็นจริงได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและบริษัทร่วมทุนโครงการ ในวันนี้ สวัสดีปีใหม่ 2565
ธันวาคม 22, 2564
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ประการสำคัญยิ่งคือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่อง Wellness กำลังเติบโตทั่วโลกเช่น ธุรกิจออกกำลังกาย การให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพกาย/ ใจ ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ และ Wellness Tourism มีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวจาก 19 ล้านล้านเหรียญ ในปี 2015 เป็น 27 ล้านล้านเหรียญ ในปี 2020 หรือเท่ากับขยายตัวร้อยละ 7 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2015 – 2020 โดยเฉพาะเมื่อเกิดผลกระทบจาก Covid-19 ยิ่งทำให้ความต้องการบริการและผลิตภัณฑ์ด้าน Wellness ขยายตัวทั่วโลก ขณะที่ นักท่องเที่ยวกลุ่ม Wellnessใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป ร้อยละ 61 เนื่องจากเป็นนักท่องเที่ยวที่มีความสามารถในการจ่ายสูง นักท่องเที่ยว Luxury ใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวประเภทอื่น 130% และมาท่องเที่ยวพักผ่อนในเวลาที่ยาวนานกว่า โดยการเติบโตของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Luxury ในไทยเติบโตถึง 18%
ตอบลบทิศทางดังกล่าวนับเป็นโอกาสสำคัญยิ่งของประเทศไทย เพราะเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับจุดแข็งของประเทศไทยในด้านบริการด้านความงามและการดูแลสุขภาพของไทย ซึ่งมีพื้นฐานที่เข้มแข็งมาก ซึ่งหากพิจารณาจากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านสุขภาพที่มีคุณภาพจำนวนมาก ทั้งธรรมชาติ อาหารไทย การแพทย์แผนไทย วัฒนธรรมไทย หรือ สมุนไพรไทย โดยประเทศไทยมีพืชสมุนไพรที่รู้จักสรรพคุณและใช้ประโยชน์กว่า 1,800 ชนิด แต่มีเพียง 300 ชนิดที่เป็นวัตถุดิบสมุนไพรที่จำหน่ายในท้องตลาด ยังมีโอกาสขยายเพิ่มเติมพืชชนิดอื่นได้อีกมาก ในส่วนของตลาดส่งออกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ของไทยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งยังขยายได้อีกมากเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะเอื้อต่อการให้บริการท่องเที่ยวเพื่อความงามและสุขภาพ หากยังเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวในประเทศไทยเพื่อประโยชน์ด้านอื่นนอกจากการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเดียว
หากพิจารณาเจาะจงลงไปในบริการด้านการแพทย์และความงามแล้ว ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขันระดับสูงมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารับบริการการแพทย์ถึง1.2 ล้านคน (ปี 2556) นับเป็นอันดับ 1 ด้าน Medical Hub ของโลก (Bloomberg 2013) เมื่อเปรียบเทียบในประเทศอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของอาเซียน โดยมีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีสัดส่วน 38% ของภูมิภาค ด้วยตลาดมีแนวโน้มเติบโตราว 14% ต่อปี ประเทศไทยมีจำนวนโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน JCI จำนวน 56 แห่ง (ปี 2560) ซึ่งมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และโรงพยาบาลเอกชนของไทยติดอันดับ 1 ใน 10 สถานพยาบาลยอดเยี่ยมระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการให้บริการไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา หากพิจารณาเจาะจงในบริการด้านความงามและศัลยกรรมซึ่งเป็นสาขาที่มีสัดส่วนมากที่สุดในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ พบว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านศัลยกรรม เป็นอันดับ 8 ของโลก ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นบริการด้านตรวจสุขภาพ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ผ่าตัดหัวใจ ศัลยกรรมความงาม แปลงเพศ และทันตกรรม