โครงการซีเนี่ยคอมเพล็กซ์เซ็นเตอร์ ไทย - เจแปน (เป็นกรณีศึกษา)
โครงการซีเนี่ยคอมเพล็กซ์เซ็นเตอร์ ไทย - เจแปน
ประสานงานโครงการ
โดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร. สุคนธ์ เครือน้ำคำและคณะทำงาน
ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานโครงการซีเนี่ยคอมเพล็กซ์ประชารัฐ
บริษัท อินทนา วิศวกรรม จํากัด พัฒนาและบริหารโครงการ
สารบัญ
1. หลักการและเหตุผล
2. สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทางของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น
3. วัตถุประสงค์
4. ความต้องการของโครงการ
5. กรอบการดําเนินการ
6. วิธีการดําเนินการ
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของรัฐ
8. แผนผังบริเวณที่พักอาศัยแบบ 3D
8.1 อยุธยา
9. ความร่วมมือและความช่วยเหลือของรัฐบาลไทย
9.1 ด้านประชาสัมพันธ์
9.2 ด้านการดูแลรักษา
9.3 ด้านความปลอดภัย
9.4 ด้านวีซ่า (visa)
10. ศึกษาความเป็นไปได้ (Flexibility)
11. ระยะเวลาดําเนินการ
12. บทสรุป
2
1. หลักการและเหตุผล
สังคมญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุผู้สูงอายุเหล่านี้ได้รับเงินบํานาญในการเลี้ยงชีพ แต่เนื่องจากค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูงจึงเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นเดินทางไปพํานักระยยาว (Long Stay) ในต่างประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเดินทางมาซึ่งการที่ชาวญี่ปุ่นเข้ามาพํานักระยะยาวในประเทศไทย จะยังส่งผลดีต่อทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จากรายได้และค่าใช้จ่ายของการเข้ามาพํานักระยะยาวของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย จึงเป็นมาของโครงการบ้านพักผู้สูงอายุญี่ปุ่น (Japan Early Retirement Project) ในการลงทุน
ตลาดสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น มีจํานวนผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่นที่ต้องใช้บริการดูแล สุขภาพ (Long-Term Care) จํานวน 5.0 ล้านคน ซึ่งแบ่งเป็นผู้ต้องการบริการพยาบาล (Nursing facility) จํานวน 35% และดูแลที่บ้าน (Home care) จํานวน 65% ในจํานวนกลุ่มประชากรญี่ปุ่นที่มี ที่ฐานะหรือมีเงินฝากอยู่ในธนาคารจํานวน 40 ล้านเยน เป็นผู้มีอายุมากว่า 60 ปีขึ้นไปถึง 73% ซึ่ง อาจกล่าวได้ว่ามากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้มีฐานะดี ตลาดผู้สูงอายุของญี่ปุ่น จึงถือว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจเพราะมีกําลังซื้อสูง โดย ธุรกิจสถานพยาบาลในตลาดผู้สูงวัย (Continuing Care Retirement Communities : CCRC) แบ่งเป็น 6 ระดับ ตามระดับความสามารถ ในการพึ่งตนเองของผู้สูงวัย ดังนี้ คือ
1. In Home
2. Independent Living
3. Assisted Living
4. Alzheimer's Care
5. Nursing Home
6. Hospice Care
นักลงทุนสามารถเลือกทําระดับใดเพียงระดับเดียวหรือหลายระดับก็ได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณของการลงทุน ขนาดของพื้นที่ การพัฒนาออกแบบ ตบแต่งสถานที่ อุปกรณ์ด้านการ แพทย์ สิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยสําหรับผู้สูงวัย พร้อมทีมงานทั้งด้านแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงวัย สําหรับประเทศไทยค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องของสถานที่ที่สามารถจัดสถานพยาบาลขนาดใหญ่ได้ มีมาตรฐานการดูแลรักษาพยาบาลและการแพทย์ที่ดี แต่ปัญหาหลักคือต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นได้อย่างถูก ต้องและเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น
2. สถานการณ์ แนวโน้ม และทิศทางของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น
จํานวนผู้สูงอายุทั่วโลกที่มีจํานวนเพิ่มขึ้นแประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีอัตราค่าครองชีพสูง ทําให้ผู้สูงอายุจําเป็นต้องย้ายออกจากเมืองใหญ่ และมีจํานวนไม่น้อยได้ย้ายออกมาสู่ประเทศที่มีค่าครองชีพที่ถูกกว่า แน่นอนว่าย่อมมี ประเทศต่างเห็นโอกาสและพยายามจับกลุ่มเป้าหมายสูงวัย เช่น ประเทศมาเลเซียรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุของ โลก สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงวัยรวมทั้งขยายเวลาให้ชาวต่างชาติอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ ต้องการพํานักในมาเลเซีย (Long-stay Visa) จากเดิมไม่เกิน 1 ปี เพิ่มเป็น 10 ปี เพื่อเอื้อให้ผู้สูงอายุ ต่างชาติมีระยะเวลาพํานักในประเทศได้นานขึ้น
สําหรับประเทศไทยเมื่อปลายปีที่แล้วก็ได้การขยายเวลาให้ชาวต่างชาติอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ต้องการพํานักในประเทศไทย จากเดิมไม่เกิน 1 ปี เพิ่มเป็น 10 ปี โดยให้ดําเนินการใน 14 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา
จาก ตารางแสดงเปรียบเทียบการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุประเทศญี่ปุ่นนับเป็นตัวอย่าง ประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ตามมาด้วยประเทศอิตาลี สวีเดน และเยอรมัน
อายุขัยเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกช่วงปี 2005-2010จะสังเกตได้ว่าประชากรในแถบทวีปอเมริกายุโรปและญี่ปุ่นซึ่งถือว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วมีอายุขัยเฉลี่ยสูงสุดมากกว่าภูมิภาคอื่นๆกล่าวคือมีอายุขัยเฉลี่ย77.2-81.5ปี ในขณะที่ประเทศในแถบแอฟริกาซึ่งถือว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศด้อยพัฒนามีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 41.5-50.7 ปี
6
7
3. วัตถุประสงค์
1) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางให้ แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมาอาศัยอยู่เป็นเวลานาน Long stay
2) เป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริการด้าน การดูแลสุขภาพ ให้รองรับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุชาวต่าง ประเทศที่ต้องการเข้ามาพํานักในประเทศไทยระยะยาว
3) เป็นศูนย์กลางการให้บริการธุรกิจเพื่อสุขภาพระยะยาว (Long-stay and Health Care) ทั้ง บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร
4) ช่วยแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ของภาคตลาดการท่องเที่ยว และการส่ง เสริมรายได้เข้าสู่ประเทศ
5) พัฒนาความร่วมมือและการสร้าง สัมพันธ์ระหว่างประเทศในเชิงเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
8
4.ความต้องการของโครงการ
ตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ Long stay มี ปัจจัยในการเลือกประเทศที่จะมาพํานักระยะ ยาว ได้แก่
1) ค่าครองชีพ
2) ภาษี
3) อาชญากรรมและความปลอดภัย
4) การใช้ภาษาอังกฤษ
5) ความบันเทิง
6) เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม
7) ชุมชนชาวต่างชาติ
8) การดูแลสุขภาพ
9) โครงสร้างพื้นฐาน
10) ความสามารถในการซื้ออสังหาริมทรัพย์
11) ข้อจํากัดด้านอสังหาริมทรัพย์
12) การพักผ่อนหย่อนใจ
13) ตัวเลือกที่พักอาศัย (ข้อ7-13 เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์) สําหรับตลาดผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่น พื้นที่เป้าหมายในประเทศไทยที่เขารู้จักและสนใจ
พื้นที่ กรุงเทพ, พะเยา, เชียงใหม่, ชลบุรี และภูเก็ต
ปัจจัยการเลือกที่พักอาศัย พิจารณาจาก
1) ด้านกายภาพ ได้แก่ ระบบสาธารณูปโภค ระบบสาธารณูปการมีช่องรายการ NHK Premium มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
2) ด้านสังคม โดยจะเลือกอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนคนไทย
3) ด้านการเงิน ค่าเช่าคอนโด 20,000-30,000 บาท/เดือน
4) ด้านตัวบ้าน โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอย มีครัว
5) ด้านข้อมูลโครงการ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทําเลที่ตั้ง ใกล้ชุมชน ที่ทํางาน ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร
6) ด้านการจัดหาที่พักอาศัยจากบริษัทจัดหาบ้าน รองลงมาคือเพื่อนแนะนํา ส่วนใหญ่ ค่าเช่า 35,001-50,000 บาทต่อเดือน เหตุผลในการเลือก เพราะ มีความปลอดภัย ทําเลใกล้ ชุมชน เดินทาง สะดวก อยู่ใกล้คนรู้จัก ส่วนใหญ่ต้องการห้องพักแบบ 1 ห้องนอน ขนาดประมาณ 60 ตรม. มีพื้นที่ ทางเข้าแบบญี่ปุ่น ห้องอาบนํ้าแยกส่วน ยืนอาบและอ่างอาบนํ้า ช่องรายการ NHK ระบบสัญญาณ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่พักใกล้ ร้านสะดวกซื้อ แหล่งชุมชน ใกล้โรงพยาบาล
7) การรับข้อมูลเพื่อพิจารณาเลือกอาคารอยู่อาศัยรวม จากบริษัทนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่พํานักในอพาร์ทเม้นท์ รองลงมาคือ เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ มี ค่าเช่า ต่อเดือนสูงกว่า 140,000 เยน และมีสิ่งอํานวยความสะดวก มีบริการด้านสุขภาพ ได้แก่ สระว่ายนํ้า ฟิตเนส ซาวน่า นวด สนามเด็กเล่น บริการทําความสะอาด
10
5. กรอบการดําเนินการ
1) จัดหาพื้นที่เพื่อดําเนินออกแบบและการก่อสร้างโครงการ
2) จัดหาและดําเนินการทางด้านการลงทุน
3) ใช้นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของภาครัฐ ในการรองรับกลุ่ม เป้าหมายของโครงการ
4) ใช้หลักการออกแบบและนวัตกรรมในการก่อสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการ อย่างมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร
6. วิธีการดําเนินการ
1) ดําเนินการรวบรวมข้อมูล พื้นที่ในการก่อสร้างโครงการ และการนําเสนอรูปแบบใน การพัฒนาโครงการ
2) ดําเนินการวางแผนการลงทุน และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภท Long Stay
และการก่อสร้างส่วนต่างๆในการรองรับการใช้สอย จากการพัฒนาโครงการ
3) ดําเนินการด้านการลงทุน ทั้งทางด้านมูลค่าเพิ่มของโครงการ ผลตอบแทน และ การขยายโครงการต่อเนื่องในอนาคต ตามทิศทางของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของรัฐ
1) รายได้จากการมูลค่าเพิ่มของการพัฒนาที่ดินโครงการ อาคารบ้านและที่ดิน
2) รายได้จากการให้บริการที่พํานักอาศัย ชาวต่างชาติ ตามนโยบายการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวภายใต้โครงการ Long Stay ของภาครัฐ
3) รายได้จากจัดเก็บค่าเช่า อาคารและระบบสิ่งอํานวยความสะดวก ภายในโครงการ เช่น คลับเฮ้าส์, สปา , สถานบริบาลและการบําบัดฟื้นฟูสุขภาพ , ศูนย์การฝึกอบรมทักษะ อาชีพการดูแลผู้สูงอายุ
4) รายได้จากการจัดเก็บค่าส่วนกลาง เป็นระบบประจํารายปี
5) รายได้จากการจัดกิจกรรมผสมผสานของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
6) รายได้จากการให้บริการในระดับวิชาชีพ ในการดูแลผู้สูงอายุ
7) รายได้จากโครงการธุรกิจต่อเนื่อง ด้านสุขภาพ และ การรักษาพยาบาล
8) รายได้จากบริการเสริม และ บริการสนับสนุนอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น